Technica

News สวัสดีจากเลบานอน

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา บริษัท Technica ได้ประดิษฐ์ AmbuVent เครื่องช่วยหายใจซึ่งชิ้นส่วนผ่านการตัดโดยเครื่องตัดเลเซอร์ของ Bystronic แต่ในตอนนี้เลบานอนได้พบกับวิกฤติครั้งใหม่ เรามาพบกับโทนี ฮาดดาด , Managing Director ของบริษัท

โทนี ฮาดดาดคือผู้บัญชาการที่ให้ความสำคัญแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และขณะเดียวกันก็เปี่ยมล้นไปด้วยความเป็นผู้นำ วิสัยทัศน์และเชื่อมั่นในความยั่งยืน แม้ประเทศนี้จะพบกับวิกฤติ แต่ประชาชนชาวเลบานอนต่างไม่ยอมแพ้พวกเขาลุกขึ้นสร้างสิ่งใหม่ๆด้วยตัวเอง เมื่อ Bystronic ได้เข้าพบบริษัท Technica เพื่อจัดทำเนื้อหาสำหรับนิตยสาร Bystronic World ในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ Managing Director คุณโทนี ฮาดดาด ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นล่าสุด "AmbuVent" เครื่องช่วยหายใจซึ่งพนักงานของเขาผลิตขึ้นด้วยเวลาที่สั้นมาก และชิ้นส่วนได้รับการตัดโดยเครื่องตัดเลเซอร์ ByStar Laser ด้วย ไอเดียของเครื่อง AmbuVent เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งในความจริงแล้ว มีอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งไม่แพ้กันในวันที่ 4 สิงหาคม ที่ทั่วทั้งโลกตกตะลึงกับเหตุการณ์ระเบิดของท่าเรือในกรุงเบรุตซึ่งสร้างความสูญเสียมหาศาลทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวเลบานอน เมื่อโศกนาฏกรรมใหม่มาพร้อมกับคำถามใหม่ โทนี ฮาดดาด ได้ให้คำตอบกับเรา เมื่อได้พบกันอีกครั้งผ่านระบบ Video Conference

แชร์หน้าเว็บ

Tony Haddad, Managing Director Technica, on the company’s basketball court in Bikfaya, Lebanon.

โทนี ฮาดดาด Managing Director ของบริษัท Technica ณ สนามบาสเกตบอลของบริษัทในบิคฟาย่า ประเทศเลบานอน

เราต้องการการเปลี่ยนแปลง

เรารับรู้ได้จากน้ำเสียงของเขา โทนี ฮาดดาด ยังคงไม่ละทิ้งความหวัง แม้เขาจะเคร่งเครียด “เราไม่ทราบว่าเราสามารถตั้งหลักได้แล้วหรือเพียงก้าวพ้นนรกมาได้เพียงก้าวเดียวกันแน่” เขาเรียงลำดับวิกฤติที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา และพบว่าจำนวนนิ้วบนมือก็ไม่เพียงพอที่จะนับ การระเบิดช่วงต้นเดือนสิงหาคมได้เปลี่ยนแปลงประเทศอีกครั้ง “เราพบกับสงครามและวิกฤติเสมอแต่เรายังคงสู้ต่อ พวกเราล้วนเป็นนักสู้” โทนี ฮาดดาด กล่าว เน้นย้ำถึงการทำงานร่วมกันของสังคมเลบานอน

ผู้คนล้วนเจ็บปวด เศรษฐกิจย่ำแย่ ประชาชนชาวเลบานอนต้องการการเปลี่ยนแปลง เมื่อมองกลับไปยังเหตุการณ์วันที่ 4 สิงหาคม โทนี ฮาดดาด กล่าวว่า “ผมคาดหวังว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเตือนสติเรา เพราะการระเบิดไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย ที่น่าอายคือไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยหลังจากนั้น”

In 1982, Tony Haddad founded the company Technica. He had a vision: "I wanted to manufacture machines in Lebanon and sell them all over the world".

ในปี 1982 โทนี ฮาดดาด ก่อตั้งบริษัท Technica ขึ้น เขามีวิสัยทัศน์ว่า “ผมต้องการจะผลิตเครื่องจักรในเลบานอนและส่งออกไปทั่วโลก”

“คุณบ้าไปแล้ว”

ผู้คนทั่วโลกส่งความห่วงใยไปยังเหตุการณ์ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ส่วนตัวโทนี ฮาดดาด เขาได้ก่อตั้งบริษัทข้ามชาติขึ้นเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา และเขายังคงถืออำนาจการบริหารเอาไว้ในมือเช่นเดียวกับที่เขาทำในปี 1982 เมื่อเขาตระหนักถึงวิสัยทัศน์ที่ว่า “ผมต้องการจะผลิตเครื่องจักรในเลบานอนและส่งออกไปทั่วโลก” ในช่วงระหว่างสงครามนี้ ทุกคนล้วนให้คำแนะนำแก่เขาว่า “อย่าทำแบบนั้น คุณบ้าไปแล้ว!” แต่เขาไม่ได้สนใจและยังคงดำเนินการต่อโดยที่ยังไม่มีแม้แต่แผนธุรกิจ “38 ปีต่อมา เราเป็นผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่บริษัทข้ามชาติมากมาย เรามีการสั่งซื้อจากเม็กซิโก รัสเซีย เปรู แอฟริกา และประเทศอื่นๆอีก

จากอีกวิกฤติที่เกิดขึ้น คุณจะอธิบายแก่พนักงานอย่างไร?

นับเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานจวบจนวันนี้ที่โทนี ฮาดดาด มีลูกค้าอยู่แทบทุกทวีปบนโลก “ผมอายุแค่ 30 ปีตอนที่ก่อตั้งบริษัท ผมต้องการจะจ้างคนในประเทศเพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่อพยพไปประเทศอื่น” และในวันนี้ เขามีพนักงานราว 200 คน จากคนและครอบครัวที่เขารู้สึกว่าต้องรับผิดชอบและดูแล เขาทราบดีว่าความกังวลและความกลัวของพนักงานนั้นหนักหนายิ่ง “เราทำให้พวกเขาสงบลงโดยอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราไม่โกหก เราพบเจอกับวิกฤติ เราบอกพวกเขาว่าเราต้องทำอะไร และสิ่งที่ทำนั้นจะเกิดผลดีอะไรกับพวกเขา ครอบครัว Technica และประเทศนี้”

ในฐานะผู้ประกอบการ โทนี ฮาดดาดมุ่งไปข้างหน้า มันไม่ใช่เพียงการจัดการกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ยังเป็นเรื่องของกลยุทธ์ในอนาคตด้วย

The employees take their families to the annual tree planting. Technica plants a tree in the name of each customer, when they issue a purchase order of hundred thousand Euros: "This way we can create a connection between us and our customers," Tony Haddad is convinced.

พนักงาน 3 คนพาครอบครัวไปร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ประจำปี Technica ปลูกต้นไม้ในนามของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งได้มอบยอดสั่งซื้อมูลค่าหลายแสนยูโรให้แก่บริษัท “นี่คือวิธีที่เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกค้าของเราได้” เขากล่าว

คิดแบบระดับโลก ดำเนินการแบบท้องถิ่น

ทุกวันนี้บริษัท Technica ส่งออกนวัตกรรมยานยนต์ออกไปทั่วทุกมุมโลก มันเป็นเรื่องสำคัญของโทนี ฮาดดาด ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าของเขาไว้ นั่นคือเหตุผลที่ Technica ปลูกต้นไม้ในนามของลูกค้าแต่ละรายเมื่อมีการส่งใบสั่งซื้อ ต้นไม้หนึ่งต้นสำหรับทุก 1 แสนยูโร โดยลูกค้าสามารถมาดูต้นไม้ของพวกเขาเติบโตได้ที่เลบานอนผ่านการใช้ข้อมูล GPS “ ด้วยวิธีนี้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ของลูกค้าของเราได้” โดยตอนนี้ Technica ได้ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 2,000 ต้นบนผืนป่าเลบานอน ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของเราในการสร้างคุณค่าร่วมในสังคม

ต้นไม้อีกมากมายจะถูกปลูกลงบนผืนดินอีกตามวัตถุประสงค์ของบริษัท Technica ที่ต้องการจะสืบสานการปลูกป่าต่อไปและด้วยกลยุทธ์ในปี 2025 ที่กำหนดไว้ว่า “สู่สากล สู่ความเป็นดิจิทัล และกระชับฉับไว” การเปิดตัวสู่ประเทศและตลาดใหม่ๆไปด้วยกันกับพนักงานของเขา “ ณ จุดนี้เรากำลังแสดงให้พวกเขาเห็นว่าเราต้องการจะเติบโตไปด้วยกัน เรากำลังจัดตั้งโรงงานและการปฏิบัติการในโปแลนด์เพื่อรองรับตลาดในยุโรป เรามีแผนแบบเดียวกันสำหรับแคนาดา ความก้าวหน้าของอินเทอร์เนทสนับสนุนเราในการทำให้เป็นดิจิทัล นั่นหมายความว่าเราจะมีกระบวนการทำงานที่กระชับฉับไวและสามารถตอบสนองต่อตลาดได้รวดเร็ว”

The AmbuVent is an approved ventilator manufactured on a Bystronic laser cutting machine: this way, hundreds of ventilators can be produced per month. Because when the corona-news from Italy spilled in early 2020, Technica decided to manufacture ventilators.

The AmbuVent คือเครื่องช่วยหายใจที่ได้รับอมุมัติให้ใช้งาน ตัวเครื่องได้รับการผลิตโดยเครื่องตัดเลเซอร์ของ Bystronic ซึ่งมีส่วนช่วยสำคัญให้บริษัทสามารถผลิตเครื่อง AmbuVent ขึ้นได้หลายร้อยเครื่องใน 1 เดือน ซึ่งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศอิตาลีคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัท Technica ตัดสินใจผลิตเครื่องช่วยหายใจขึ้นมา

ไอเดียพัฒนาไปสู่เครื่องช่วยหายใจ

ความรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงและความพร้อมก้าวไปสู่พื้นที่ทางธุรกิจใหม่ๆนับเป็นจุดแข็งของ Technica เมื่อประเทศอิตาลีเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาในช่วงต้นปี 2020 โทนี ฮาดดาดไม่สามารถลืมภาพอันน่าเศร้าที่เขาเห็นได้ และได้ตัดสินใจโดยไม่ลังเลที่จะผลิตเครื่องช่วยหายใจขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้นอย่างยิ่งยวด วิศวกรซอฟต์แวร์และเครื่องกลของบริษัทได้คิดค้นและพัฒนา The AmbuVent ขึ้นมาในระยะเวลาเพียงสองสัปดาห์ โดยทำงานกันทั้งวันทั้งคืน ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวได้รับการรับรองโดย American University Hospital เป็นที่เรียบร้อย และได้นำมาใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งโทนี ฮาดดาดได้อธิบายให้เราฟังด้วยรอยยิ้มและความภาคภูมิใจ

Technica ไม่ได้กำไรใดๆจากสิ่งประดิษฐ์นี้ โทนี ฮาดดาดยินดีส่งมอบเครื่องช่วยหายใจให้แก่โรงพยาบาลในราคาต้นทุนเมื่อมีการร้องขอ และด้วยประสิทธิภาพของเครื่องตัดเลเซอร์ Bystronic ทำให้การผลิตเครื่องช่วยหายใจหลักร้อยเครื่องต่อเดือนเป็นไปได้ “ความร่วมมือกับ Bystronic นั้นดีมาก เราได้รับการสนับสนุน ได้รับข้อแนะนำที่เราต้องการ รวมถึงมีคุณภาพตามที่ควรจะเป็น ผมมั่นใจว่าเครื่องจักรเครื่องถัดไปของบริษัทจะยังคงเป็นของ Bystronic อย่างแน่นอน” โทนี ฮาดดาด ได้ให้คำมั่นและเขาได้เซ็นต์สัญญาสำหรับเครื่องกำเนิดก๊าซไนโตรเจนเครื่องใหม่แล้วเรียบร้อย

ผมมีหนึ่งคำอธิษฐาน

โทนี ฮาดดาดได้เน้นย้ำอีกครั้งว่า “เราทำได้ดี และเราเข้ากันได้ดี” การระเบิดของท่าเรือเบรุตไม่ใช่อุบัติเหตุ “ เหตุการณ์ระเบิดทำให้พวกเราทุกคนช๊อค เราโชคดีที่อยู่ห่างจากท่าเรือ แต่ผู้คนจำนวนมากกำลังเจ็บปวด หลายคนจากเราไป หลายคนไร้ที่อยู่อาศัย” เขาคาดหวังว่ามันจะเป็นคติสอนใจ แต่ผู้คนลืมอย่างรวดเร็ว พวกเขาปรับตัวไปกับมัน

ตอนนี้โทนี ฮาดดาดใช้ความคิดตริตรองมากขึ้นและเกิดความเงียบขึ้นชั่วขณะ “คุณรู้ไหมว่าผมได้พบบทความที่ผมเคยเขียนในปี 2002 บนกองเอกสารของผมเมื่อไม่นานมานี้ ผมมีความฝันที่จะอยู่ในประเทศที่ผู้คนรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า ผมมีความหวังว่าวันหนึ่งเลบานอนจะกลับมาเป็นสวิตเซอร์แลนด์แห่งตะวันออกกลางอีกครั้ง ที่ซึ่งเราจะได้ใช้ชีวิตดีๆเช่นในยุค 70

Today, Technica employs around 200 people and feels responsible for them as well as their families. Create shared value for the community (CSV) is the credo and so the employees and their families have already planted over two thousands trees in the Lebanese forests.

วันนี้พนักงาน Technica กว่า 200 ชีวิตรับรู้ถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัวของพวกเขา การสร้างคุณค่าร่วมต่อสังคม (Shared value for the community :CSV) คือหลักบัญญัติ และพนักงานรวมถึงสมาชิกในครอบครัวได้ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 2,000 ต้นบนผืนป่าเลบานอน

แชร์หน้าเว็บ